D.T.C. BLOG

อัพเดตข่าวสารความรู้โลจิสติกส์

ไฟฉุกเฉิน ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย

ไฟฉุกเฉิน หรือที่คนชอบเรียกว่าไฟผ่าหมากนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่คนใช้รถทุกคันควรรู้ว่าใช้งานอย่างไร? ใช้งานตอนไหน? เพราะถ้าใช้ไฟฉุกเฉินในทางที่ผิดแล้วอาจจะผิดกฎหมาย และยังสามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้อื่นที่ใช้รถบนท้องถนนได้ และอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว วันนี้ DTC จะมาบอกการใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินอย่างถูกต้อง ปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย ให้เพื่อนๆ ทุกคนทราบกันครับ

ไฟฉุกเฉิน
คือระบบไฟในรถยนต์ที่วิธีการใช้งานนั้นง่ายเพียงนิดเดียว นั่นคือการกดปุ่มสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยม จากนั้นที่ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและด้านหลังสี่ด้านก็จะกะพริบพร้อม ๆ กัน

การใช้ไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง
ไฟฉุกเฉินมีไว้สำหรับ “รถที่จอดเสีย” ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จราจร มาตรา 9 และกฏหมาย ข้อ 11 ให้ใช้ไฟฉุกเฉินได้ ดังนั้น ไฟฉุกเฉินสามารถใช้ได้ในกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้นนะครับ

การใช้ไฟฉุกเฉินที่ผิด
การเปิดไฟฉุกเฉินขณะที่รถวิ่งอยู่
อาจจะก่อให้เกิดอันตรายเวลาที่เราต้องการเปลี่ยนเลนได้ เพราะผู้ใช้รถท่านอื่นหรือรถที่ขับตามหลังนั้นไม่สามารถรู้ได้ว่าเรานั้นกำลังจะเลี้ยวไปทางซ้ายหรือทางขวา

- การเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อต้องการวิ่งทางตรงเวลาผ่านสี่แยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร
ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการทำตามกันในแบบผิดกันอย่างมาก การใช้ไฟฉุกเฉินในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากผู้ใช้รถท่านอื่นอาจจะเข้าใจผิดได้ว่าเรานั้นกำลังจะเลี้ยวไปทางซ้ายหรือทางขวาก็เป็นได้

 - การใช้ไฟฉุกเฉินขณะฝนตกหนักหรือทัศนวิสัยในการขับขี่ที่แย่
จะทำให้ผู้ขับรถตามหลังมา รวมถึงผู้ร่วมใช้ถนนอื่นๆ ไม่สามารถรับรู้ถึงความต้องการของเราได้ ว่าต้องการจะเปลี่ยนเลนไปทางซ้าย หรือทางขวา  หรือต้องการที่จะจอด  และแสงไฟจากไฟฉุกเฉินที่เราเปิดอยู่นั้นจะเกิดการส่องสว่างที่จ้าขึ้น อาจทำให้สายตาของผู้ที่ขับขี่รถด้านหลังเราเกิดการพร่ามัว และประสบอุบัติเหตุได้

 - 
การใช้ไฟฉุกเฉินเมื่อมีการจอดซื้อของริมถนน
หรือบางครั้งก็จะมีการจอดริมฟุตบาทที่มีเส้นขาวแดงแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน ซึ่งการทำแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่ผิดเช่นกัน